ภาพประวัติศาสตร์ หลุมดำ m87 เปิดเผยภาพจริงครั้งแรก
เมื่อวานนี้ (10 เม.ย.) กลุ่มนักวิทยาศาสตร์นานาชาติโพสต์ภาพและข้อความที่ถือว่าเป็นประวัติศาสตร์ของมวลมนุษยชาติผ่านเพจเฟซบุ๊ก Event Horizon Telescope โดยระบุว่า เป็นภาพหลุมดำ ภาพแรกจริงๆ ในประวัติศาสตร์ของมวลมนุษยชาติ และได้มีการถ่ายทอดสดไปทั่วโลก ติดตามได้จากคลิปด้านล่างเลยครับ
งานแถลงข่าว ภาพหลุมดำครั้งแรกในประวัติศาสตร์ หลุมดําถ่ายทอดสด
ภาพที่ได้ หลุมดำ m87
ภาพถ่ายนี้คือภาพระยะไกลภาพแรกในประวัติศาสตร์ของหลุมดำขนาดใหญ่โตที่อยู่ใจกลางของกาแล็กซีที่มีชื่อว่า เอ็ม 87 (M87) ซึ่งอยู่ใกล้ๆ กับกาแล็กซีทางช้างเผือก พร้อมกับบรรยายด้วยว่า หลุมดำดังกล่าวมีมวลมากกว่าดวงอาทิตย์ถึง 6, 500 ล้านเท่า
นักวิทยาศาสตร์กลุ่มนี้ชี้ว่า ภาพถ่ายระยะไกลชิ้นนี้ถือเป็นหลักฐานที่มีน้ำหนักมากที่สุด ณ ปัจจุบัน สำหรับการศึกษาการดำรงคงอยู่ของหลุมดำขนาดมหึมา รวมทั้งเป็นการเปิดโอกาสใหม่สู่การศึกษาหลุมดำ ตำแหน่งของหลุมดำ และแรงดึงดูดของหลุมดำ
ทำความรู้จักกล้องโทรทรรศน์อีเวนต์ฮอไรซัน (Event Horizon Telescope: EHT)
กล้องโทรทรรศน์อีเวนต์ฮอไรซัน (Event Horizon Telescope: EHT)เป็นเครือข่ายกล้องโทรทรรศน์วิทยุความถี่สูง ช่วง 230-450 GHz จากหอสังเกตการณ์ดาราศาสตร์วิทยุ 8 แห่งทั่วโลก ทำงานร่วมกันเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการรับสัญญานและกำลังแยกภาพ ใช้เทคนิคการแทรกสอดระยะไกล เมื่อสังเกตการณ์ร่วมกัน จะเสมือนว่ามีกล้องโทรทรรศน์วิทยุที่มีขนาดหน้าจานเท่ากับเส้นผ่านศูนย์กลางของโลก
นักดาราศาสตร์เผยภาพถ่าย “หลุมดำ” ครั้งแรกในประวัติศาสตร์ เป็นหลุมดำใจกลางกาเเล็กซีมวลมหาศาลที่อยู่บริเวณกลุ่มดาวหญิงสาว ห่างจากโลกประมาณ 55 ล้านปีแสง และมีมวลประมาณ 6, 500 ล้านเท่าของมวลดวงอาทิตย์ นับเป็นการค้นพบทางวิทยาศาสตร์อันยิ่งใหญ่อีกครั้งหนึ่งของมวลมนุษยชาติ ตอกย้ำทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไปของไอน์สไตน์
หลุมดำคืออะไร
หลุมดำ คือเทหวัตถุที่มีแรงดึงดูดมหาศาล จนสามารถดูดทุกสิ่งเข้าไปได้ ไม่เว้นแม้แต่แสง หลุมดำเกิดจากดาวฤกษ์ขนาดใหญ่ที่แตกดับลง สสารที่เคยเป็นดาวนั้นจะอัดตัวลงด้วยแรงดึงดูดของตนเองลงเรื่อย จนมีมวลเป็นอนันต์ และมีขนาดเล็กว่านิวเคลียสของอะตอม ที่เรียกว่า เอกภาวะ ( Singularity )
หลุมดำใหญ่ที่สุดในจักรวาล
มีชื่อว่า หลุมดำเอ็มแปดสิบเจ็ด ( Black hole M87 ) อยู่ที่แกนกลางของมหาดาราจักรรูปวงรีเอ็มแปดสิบเจ็ด ( Giant elliptical Galazy M87 ) ในกลุ่มดาว Virgoหลุมดำ M87 มีขนาดเป็น สามพันล้านเท่าของมวลดวงอาทิตย์หลุมดำ M87 ด้วยขนาดเส้นผ่านศูนย์ประมาณ 18 พันล้านกิโลเมตร นั้นเทียบได้เกือบเป็นสองเท่าของเส้นผ่านศูนย์กลางของวงโคจร ของ ดาวพรูโต ( Pluto )
หลุมดำและการเกิดคลื่นแรงโน้มถ่วง
หลุมดำนั้น มีส่วนให้เกิดคลื่นแรงโน้มถ่วงอย่างไร ไปดูคำตอบได้ในคลิปนี้ครับ