ประวัติหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ
ไทยรัฐ 60 ปี แห่งการพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้ง (Full Version)
ยุคแรก หนังสือพิมพ์ข่าวภาพ (2493–2501)
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ เดิมชื่อหนังสือพิมพ์ข่าวภาพ เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2492 บริษัทข่าวภาพบริการ ได้ยื่นคำขอจดทะเบียน จัดตั้ง ธุรกิจหนังสือพิมพ์ ชื่อข่าวภาพ ( The Weekly Pictorial) และได้วางแผง เป็นหนังสือพิมพ์รายสัปดาห์ เมื่อวันที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2493 และในเวลาต่อมา วันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2494 กำพล วัชรพล, เลิศ อัศเวศน์ และวสันต์ ชูสกุล ผู้ก่อตั้งหนังสือพิมพ์ ได้ปรับเวลาวางแผงใหม่ จากรายสัปดาห์ เป็นราย 3 วันจากนั้นได้ปรับเป็นหนังสือพิมพ์รายวัน จากนั้นเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2495 ห พิมพ์เริ่มแรกจำนวน 3, 000 ฉบับ จากนั้น ได้มีการขยายกิจการไปออกนิตยสาร ข่าวภาพรายเดือน อีกฉบับหนึ่ง เริ่มวางแผงเมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. 2496 แต่ก็เกิดเหตุการณ์ไม่คาดคิด จากวิกฤติทางการเมือง เมื่อ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ หัวหน้าคณะปฏิวัติ ออกประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 3 สั่งปิดหนังสือพิมพ์หลายฉบับ รวมทั้งข่าวภาพ ในวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2501 และหลังจากนั้นยังมีเหตุการซ้ำราย เมื่อมีเหตุการณ์ไฟไหม้โรงพิมพ์เข้ามาซ้ำเติมอีกด้วย
ยุคที่ 2 หนังสือพิมพ์ เสียงอ่างทอง (2502 – 2505)
จากเหตุการณ์ที่ถูกคณะปฏิวัติ สั่งปิดหนังสือพิมพ์ กำพล ยังไม่ย่อท้อ เขาได้เช่าซื้อหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นที่มีอยู่แล้วในชืื่อ เสียงอ่างทอง ซึ่ง วางจำหน่ายเฉพาะจังหวัดอ่างทองเท่านั้น มาพิมพ์จำหน่ายเป็นรายวัน และจำหน่ายโดยทั่วไป เริ่มจำหน่ายเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2502 จำนวนพิมพ์ในครั้งแรกคือ 7, 000 ฉบับ แต่ละฉบับมีจำนวน 10 หน้า ในราคาฉบับละ 0.50 บาท ในเวลาต่อมา หนังสือพิมพ์เสียงอ่างทองมียอดจำหน่ายเพ่ิมขึ้นเรื่อย จนถึง 45, 000 ฉบับ ต่อวัน เขาได้ใช้ระบบตีพิมพ์ด่วน และกระจาย การจัดจำหน่าย ไปยังภูมิภาคต่างๆ
ยุคที่ 3 เปลี่ยนชื่อเป็นหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ (2505 – ปัจจุบัน)
หนังสือพิมพ์เสียงอ่างทอง ได้เปลี่ยนชื่อใหม่ เป็น หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2505 เนื่องจากหนังสือพิมพ์เสียงอ่างทอง ถูกปิดไป จากการนำเสนอข่าวการเมือง ในขณะนั้น ทางผู้บริหารจึงได้ปรับตัว ขอเปิดหนังสือพิมพ์ฉบับใหม่ และเปลี่ยนสถานที่จัดพิมพ์ เปลี่ยนบรรณาธิการใหม่
โดย ใช้คำขวัญว่า “หนังสือพิมพ์เช้า ภาพข่าวสดประจำบ้าน และมียอดพิมพ์เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เป็น 100, 000 ฉบับ ในราคาฉบับละ 1 แลต่อมา ในปี 2508 ได้มีพัฒนาการจัดพิิมพ์เป็นฉบับพิเศษ ในวันอาทิตย์ ชื่อว่า “ไทยรัฐสารพัดสี มีจำนวน 20 หน้าแต่ราคาเท่าเดิม และทำให้ยอดพิมพ์ เพิ่มขึ้น เป็น 140000 ฉบับ
อ้างอิง